วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556  

 ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เพลงกล่อมเด็ก 4 ภาค




...........................................................



วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556  
 ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

นำเสนองานกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  และ การจัดประสบการณ์ทางภาษาทักษะการใช้ภาษา


กลุ่มที่ 4  พัฒนาการสติปํญญาของเด็กอายุ2-4 ปี

กลุ่มที่ 5 พัฒนาการสติปัญญาของเด็กอายุ4-6ปี


      พัฒนาการทางสติปัญญา 4- 6 ปี  กลุ่มของดิฉัน


โดยมี น.ส.นันทพร สีคำ อยู่ซ้ายมือ ถัดมา น.ส.เสาวณีย์ ชอบชื่น  ถัดมา น.ส.จิรพร ไทยอัฐวิถี ถัดมา น.ส.พิชชาภา สุพะกะ เป็นผู้นำเสนอ  และดิฉัน น.ส.รัตติยากร  ปักโกทะสัง เป็นผู้เปิดสื่อ ในการนำเสนอครั้งนี้ 




การจัดประสบการณ์ทางภาษาทักษะการใช้ภาษา

1 บอกสิ่งของที่รักและเหตุผล

เป็นการให้เหตุผลเเบบอุปนัยเนื่องจากการให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลเกิดจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ดังนั้นการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างซึ่งได้แก่ จำนวนข้อมูล และ ข้อมูล



2 การโฆษณาสินค้า

     การโฆษณา มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ 
1. เรียกร้องความสนใจคือเลือกใช้ภาษาที่ง่าย สุภาพ กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า
2. ให้ความกระจ่างแก่ลูกค้าเป็นการใช้ภาษาที่ง่ายชัดเจนในการกล่าวถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
3. ให้ความมั่นใจ เป็นการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ
4. ยั่วยุให้เกิดการตัดสินใจ เป็นการใช้ถ้อยคำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยเร็วที่สุด


3การประชาสัมพันธ์ 

 หมายถึง  การสื่อสารความคิดเห็นข่าวสารข้อเท็จจริงต่างๆไปสู่กลุ่มประชาชน เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานองค์การสถาบันกับกลุ่ม ประชาชนเป้าหมายและประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อหวังผลในความร่วมมือ สนับสนุนจากประชาชนรวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้แก่หน่วยงาน  องค์การ  สถาบันด้วย  ทำให้ประชาชนเกิดความนิยมเลื่อมใสศรัทธาต่อหน่วยงานตลอดจนค้นหาและกำจัดแหล่งเข้าใจผิดช่วยลบล้างปัญหาเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น


4 การเล่าข่าว 

1. การใช้ภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์  
    1.1 การใช้คำตัดสั้นหรือกร่อนคำ  ด้วยข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่  คือความกว้างยาวของคอลัมน์ข่าว  ทำให้การใช้คำพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ต้องตัดให้สั้นหรือย่นย่อลงเพื่อกระชับคำให้พิมพ์ลงในเนื้อที่ที่จำกัดได้ เช่น หนุน ใช้แทน สนับสนุน ยัน ใช้แทน ยืนยัน มะกัน ใช้แทน สหรัฐอเมริกา  เป็นต้น
     
     1.2 การละประธานของประโยค  การพาดหัวข่าวนิยมเขียนประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา  เพื่อบอกผู้อ่านว่าเกิดอะไรขึ้น  ละประธานของประโยคในฐานะที่เข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อความสำคัญของเรื่องที่เป็นข่าวไม่ได้อยู่ที่ประธานของประโยค  เพื่อให้ผู้อ่านอ่านรายละเอียด
ในความนำหรือเนื้อเรื่องของข่าวต่อไป
    
     1.3 การละเว้นคำเชื่อม คำสันธาน หรือส่วนที่ขยายประโยค นอกจากการละประธาน
ของประโยคแล้ว  พาดหัวข่าวมักจะใช้ประโยคเดี่ยวมากกว่าประโยคซ้อน  การใช้ภาษาจึงหลีกเลี่ยงคำเชื่อม  และส่วนขยายประโยคที่ไม่จำเป็น เช่น คำว่า  “อีกทั้ง”  “ซึ่ง”  “กับ”  “ต่อ”  เป็นต้น แต่ทั้งนี้ส่วนที่ละไว้ต้องไม่ทำให้ประโยคเหล่านี้มีความหมายผิดเพี้ยนไป
 
     1.4 การใช้คำสแลง คำเฉพาะสมัย หรือคำที่สร้างภาพลักษณ์เกินจริง พาดหัวข่าวต้องดึงดูดความสนใจคนอ่านร่วมสมัย ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงเป็นคำที่อยู่ในกระแสความนิยม มีสีสัน
เกินจริง คำสแลง  หรือภาษาเฉพาะสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นภาษาสนทนา หรือคำแสดงภาพพจน์ รวมทั้งสร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ เช่น วัยจ๊าบ ซึ่งหมายถึงวัยรุ่น สาวอยากอึ๋ม ซึ่งหมายถึงผู้หญิง ที่ต้องการมีหน้าอกใหญ่ขึ้น วืด หรือ ชวด  ซึ่งหมายถึงพลาดเป้าหมายหรือไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวังไว้ เป็นต้น
     
     1.5 การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสีสันให้พาดหัวข่าว
เพื่อดึงดูดความสนใจคนอ่าน ชื่อเล่นของบุคคลหรือฉายาที่ตั้งให้ใหม่นั้นมักสั้นกว่าชื่อจริง ทำให้พาดหัวข่าวกระชับและสั้นลง  สามารถพิมพ์ลงในคอลัมน์ที่มีความกว้างยาวจำกัดได้  แต่ทั้งนี้
มักเป็นชื่อเรียกหรือฉายาที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน



5.การเล่าจากภาพ


เป็นการถ่ายทอดความคิดในการออกแบบจากสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิดในการออกแบบนั้น









วันศุกร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4


วันศุกร์ ที่ 5  กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


สัปดาห์นี้นำเสนองาน เป็นกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอเพื่อนๆหน้าห้องโดยนำหัวข้อที่เสนอในสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่  7   วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย




    การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งมาจากการฝึกฝน เช่นเดียวกับการป้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าไปในสมองเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น แต่การฝึกสมองให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ใช่เรื่องของการจำอย่างเดียว เพราะถึงแม้การจำจะเป็นสิ่งที่จำเป็น เป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ แต่ก็เป็นเพียงขั้นพื้นฐานของสมองที่จะต้องมีการจำความรู้เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป บางครั้งการจำไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่อาจไปสกัดกั้นการทำความเข้าใจเนื้อหาของความรู้ ความจริงแล้วการฝึกให้สมองสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นเรื่องของการคิด เพราะถ้าหากสมองคิดเป็นก็เรียกได้ว่าคน ๆ นั้นเป็นคนที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพ การคิดเป็นการทำงานของสมองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพียงแต่ว่าเราจะต้องจัดการเรียนรู้หรือจัดสิ่งกระตุ้นให้มากพอที่สมองจะได้ฝึกคิด การคิดสามารถพัฒนาและฝึกฝนได้
   รูปแบบการเรียนรู้ปัจจุบันจำเป็นต้องสร้างให้ผู้เรียนเป็นฝ่ายรุกนั้นคือกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ใฝ่รู้ รู้จักคิดตั้งคำถามและคิดค้น
หาคำตอบ ให้โอกาสผู้เรียนได้แสดงความคิด วิเคราะห์และหาข้อสรุป และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้เรียนฝึกฝนการคิดคือมีทักษะการคิด ลักษณะการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นผลมาจากนักการศึกษาในปัจจุบันได้นำเอาความรู้ในเรื่องการคิดและการเรียนรู้ทางจิตวิทยาและทางชีววิทยามาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการคิดของเด็กในชั้นเรียนเพื่อเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนต่อไป
     เด็กอายุ 8 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางการคิดและการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัวของเขา เรารู้ข้อมูลเหล่านี้จากนักจิตวิทยาโดยเฉพาะนักจิตวิทยาการเรียนรู้ ระหว่างศตวรรษที่ 20 คำถามสำคัญคือ การคิดของเด็กเล็ก ๆ แตกต่างจากผู้ใหญ่หรือไม่ หรือมันเป็นการขาดประสบการณ์ของเด็กหรือไม่ สำหรับประเด็นที่ว่า เด็กเรียนรู้อย่างไร ได้ศึกษาโดยนักการศึกษา นักปรัชญา นักจิตวิทยา เช่น พาฟลอฟ ทอนไดค์ สกินเนอร์ ให้ความสำคัญในอิทธิพลของแนวทางที่เน้นการสอน (เด็กถูกสอน) ประมาณ ค.ศ. 1950-1959 นักจิตวิทยาและนักการศึกษาให้ความสำคัญมากในการเรียนอย่างเข้มข้น ต้องการการเสริมแรง และเชื่อว่าหลักการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานการกระตุ้นและการตอบสนอง
        พิอาเจท์และอินเฮลเดอร์ (Piaget and Inhelder. 1969 : 58) อธิบายว่า การคิดหมายถึง การกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญา การคิดของเด็กเป็นกระบวนการใน 2ลักษณะคือ เป็นกระบวนการปรับโครงสร้างโดยการจัดสิ่งเร้าหรือข้อความที่ได้รับจริงให้เข้ากับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่กับกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยการปรับความจริงที่รับรู้ใหม่ให้เข้ากับประสบการณ์เดิม เด็กใช้การคิดทั้งสองลักษณะนี้ร่วมกันหรือสลับกันเพื่อปรับความคิดของตนให้เข้าใจสิ่งเร้ามากที่สุด ผลของการปรับเปลี่ยนการคิดดังกล่าวช่วยพัฒนาวิธีการคิดของเด็กจากระดับหนึ่งไปสู่การคิดอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่า ไอแซคส์ (Isaacs)ช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กจากการศึกษาของเขาโดยการสังเกตและจดบันทึก โดแนลด์สัน (David.1999: 2-3 ;citing Donaldson.nd) อธิบายว่า ปัญหาการสื่อสารระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นสาเหตุให้เด็กเกิดความล้มเหลวในการเรียนรู้ได้ ดังนั้นผู้ใหญ่จะต้องพยายามคิดว่าทำอย่างไรจะบรรลุความสำเร็จที่จะเข้าใจความคิดและภาษาของเด็ก และอธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กทำให้เด็กเกิดความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การคิดเป็นนามธรรมต่อไป เด็กจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ถ้าเขาไม่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง
       ภาษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้และความเข้าใจ บรูเนอร์ (Bruner. 1993) และไวกอตสกี้ (Vygotsky. 1978) ให้ความสำคัญเรื่อง ภาษา การสื่อสาร และการสอนเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทางสติปัญญา และพัฒนาการส่วนบุคคล การแสดงออกของผู้ใหญ่ในฐานะผู้ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ (Scaffolding)จะทำให้เด็กเข้าใจโลกรอบตัวของเขา เด็กบางคนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือไม่สามารถจำประสบการณ์ของตนได้ ถ้าผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือ หรือแนะนำอาจทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง
       บรูเนอร์ (Bruner) พัฒนาแนวคิดของ เนลสัน (Nelson) เกี่ยวกับความคิดเรื่อง ผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเหลือ หรือให้คำแนะนำ (Scaffolding) การเรียนรู้ของเด็กและไวกอตสกี้ (Vygotsky) ค้นพบเรื่อง “Zone of Proximal Development” เพื่ออธิบายช่องว่างระหว่างสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองและสิ่งที่เด็กสามารถประสบความสำเร็จด้วยการช่วยเหลือของคนอื่นส่งผลให้เด็กมีระดับการคิดเพิ่มขึ้น ระดับการคิดที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการใช้ภาษาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ผู้ใหญ่ถ่ายทอดความรู้และคุณค่าทางวัฒนธรรม ไวกอตสกี้อธิบายว่าความสำเร็จจากความร่วมมือคือพื้นฐานการเรียนการสอนโดยบุคคลที่มีความรู้มากกว่าเป็นตัวเสริมให้ระดับการคิดของเด็กเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มันเป็นการค้นพบว่า เมื่อเด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นในกิจกรรมการคิดแก้ปัญหาทำให้เด็กประสบความสำเร็จถึงวิธีการแก้ไขได้ดีกว่าที่เขาพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง การเรียนรู้แบบร่วมมือมักเกิดขึ้นในหลาย ๆ สถานการณ์การเล่น โดยการที่เด็กเล่นไปด้วยกันและทดลองแนวคิดใหม่พร้อมกับใช้ทักษะการคิดหลายด้าน เด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ด้วยการใช้ทักษะการคิดหลาย ๆ ด้าน บรูเนอร์อธิบายว่า มันเป็นสถานการณ์การเล่นที่เด็กเล็กสามารถทดสอบความคิดของตนเองและความรู้ที่มีอยู่โดยเป็นอิสระจากผู้ใหญ่ แม้ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ แต่ยังมีองค์ประกอบหนึ่งที่ส่งผลการเรียนรู้คือ แรงจูงใจ กิจกรรมต่าง ๆ ที่มาจากความสนใจของเด็กและแรงจูงใจภายใน จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการเรียนรู้ (David. 1999 : 4-5) บทบาทของผู้ใหญ่หรือคนที่มีความรู้มากกว่าในฐานะผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำส่งผลให้เด็กมีระดับการคิดสูงขึ้น
    สรุปได้ว่าการคิดและการเรียนรู้ตามแนวคิดทางจิตวิทยามีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยตลอด แนวคิดทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบัน คือ แนวคิดของพิอาเจท์ (Piaget) บรูเนอร์ (Brunner) และไวกอตสกี้ (Vygotsky) รูปแบบการเรียนการสอนจึงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้สืบค้นและทดลอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำด้วยการคิด ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงออกในการคิดใช้ทักษะการคิด เรียนรู้แบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง บทบาทครูในฐานะผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำ ครูควรใช้คำถามที่มีความหมายให้คำอธิบาย พูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
                                                                                                                                                                                                ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 3


วันศุกร์ ที่ 28  มิถุนายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

จัดกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




วันศุกร์ ที่ 21มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2


วันศุกร์ ที่ 21มิถุนายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5-6 คน  10 กลุ่ม  โดยจะมีหัวข้อเรื่องของแต่ละกลุ่มว่าเราต้องทำเรื่องไหนพร้อมมีหัวข้อย่อยให้ 

แบ่งกลุ่มทำงานตามหัวข้อดังนี้

กลุ่มที่ 1 ภาษา
กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา แรกเกิด-2 ปี
กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  3-4 ปี
กลุ่มที่ 5 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 4-6 ปี
กลุ่มที่ 6 ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 8 องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
กลุ่มที่ 9 หลักการจัดประสบการณ์

*กลุ่มดิฉันได้หัวข้อที่ 5  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 4-6 ปี
โดยมีสมาชิกดังนี้
1. น.ส.นันทพร สีคำ เลขที่ 9
2. น.ส.จิรพร  ไทยอัฐวิถี เลขที่ 11  
3. น.ส.รัตติยากร  ปักโกทะสัง เลขที่ 29
4. น.ส.พิชชาภา  สุพะกะ  เลขที่ 35
5. น.ส.เสาวณีย์  ชอบชื่น  เลขที่ 45
 




วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1

วันศุกร์ ที่ 14  มิถุนายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

วิธีสร้างบล็อกกับ Blogger มี 6 ขั้นตอนดั้งนี้


ขั้นที่ 1 การสมัครใช้งาน Blogger สามารถใช้ email ของระบบใดก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วการเชื่อมโยงกับบริการหลายๆอย่าง ของ google ควรจะใช้ email ของ Gmail 


ขั้นที่ 2 หลังจากได้บัญชีผู้ใช้แล้ว ให้ไปที่ www.blogger.com เพื่อสร้างบล็อกกันโดยในการสร้างบล็อกนั้น ก็ให้ใช้ บัญชีผู้ใช้ (user name + password) ที่ได้สร้างไว้ในขั้นที่ 1

ขั้นที่ 3 ในขั้นต่อมาให้กรอก emailที่ได้จากขั้นที่ 1 ชื่อผู้เขียนบล็อก วันเกิด และยอมรับข้อตกลงแล้ว Click ที่ปุ่มดำเนินการต่อ 



ขั้นที่ 4 การตั้งชื่อเว็บบล็อกสามารถใช้ชื่อที่ชอบได้ตามใจ แต่การกำหนด URL จะต้องไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น ๆ ถ้าซ้ำก็ใช้วิธีเปลี่ยนเป็นคำหรือวลีที่ใกล้เคียงไปเรื่อย ๆ(การตั้งชื่อและ URL ของบล็อกควรมี keyword ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเขียนด้วย)


ขั้นที่ 5 ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเลือกแม่แบบของบล็อก ให้เลือกแม่แบบใดก็ได้เพราะเราจะมาทำการปรับแต่งแม่แบบได้ในภายหลัง ซึ่งเราได้เขียนบทความการเปลี่ยนแม่แบบเอาไว้รอท่านแล้ว


ขั้นที่ 6ในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจัดการกับบล็อกที่สร้างขึ้นคุณสามารถเข้าไปจัดการส่วนต่าง ๆ ของบล็อกได้จาก www.blogger.com หรือ draft.blogger.com