ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
นำเสนองานกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว และ การจัดประสบการณ์ทางภาษาทักษะการใช้ภาษา
กลุ่มที่ 4 พัฒนาการสติปํญญาของเด็กอายุ2-4 ปี
กลุ่มที่ 5 พัฒนาการสติปัญญาของเด็กอายุ4-6ปี
พัฒนาการทางสติปัญญา 4- 6 ปี กลุ่มของดิฉัน
โดยมี น.ส.นันทพร สีคำ อยู่ซ้ายมือ ถัดมา น.ส.เสาวณีย์ ชอบชื่น ถัดมา น.ส.จิรพร ไทยอัฐวิถี ถัดมา น.ส.พิชชาภา สุพะกะ เป็นผู้นำเสนอ และดิฉัน น.ส.รัตติยากร ปักโกทะสัง เป็นผู้เปิดสื่อ ในการนำเสนอครั้งนี้
การจัดประสบการณ์ทางภาษาทักษะการใช้ภาษา
1 บอกสิ่งของที่รักและเหตุผล
เป็นการให้เหตุผลเเบบอุปนัยเนื่องจากการให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลเกิดจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ดังนั้นการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างซึ่งได้แก่ จำนวนข้อมูล และ ข้อมูล
2 การโฆษณาสินค้า
การโฆษณา มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
1. เรียกร้องความสนใจคือเลือกใช้ภาษาที่ง่าย สุภาพ กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า
2. ให้ความกระจ่างแก่ลูกค้าเป็นการใช้ภาษาที่ง่ายชัดเจนในการกล่าวถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
3. ให้ความมั่นใจ เป็นการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ
4. ยั่วยุให้เกิดการตัดสินใจ เป็นการใช้ถ้อยคำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยเร็วที่สุด
3การประชาสัมพันธ์
หมายถึง การสื่อสารความคิดเห็นข่าวสารข้อเท็จจริงต่างๆไปสู่กลุ่มประชาชน เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานองค์การสถาบันกับกลุ่ม ประชาชนเป้าหมายและประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อหวังผลในความร่วมมือ สนับสนุนจากประชาชนรวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้แก่หน่วยงาน องค์การ สถาบันด้วย ทำให้ประชาชนเกิดความนิยมเลื่อมใสศรัทธาต่อหน่วยงานตลอดจนค้นหาและกำจัดแหล่งเข้าใจผิดช่วยลบล้างปัญหาเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น
4 การเล่าข่าว
1. การใช้ภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์
1.1 การใช้คำตัดสั้นหรือกร่อนคำ ด้วยข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ คือความกว้างยาวของคอลัมน์ข่าว ทำให้การใช้คำพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ต้องตัดให้สั้นหรือย่นย่อลงเพื่อกระชับคำให้พิมพ์ลงในเนื้อที่ที่จำกัดได้ เช่น หนุน ใช้แทน สนับสนุน ยัน ใช้แทน ยืนยัน มะกัน ใช้แทน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
1.2 การละประธานของประโยค การพาดหัวข่าวนิยมเขียนประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เพื่อบอกผู้อ่านว่าเกิดอะไรขึ้น ละประธานของประโยคในฐานะที่เข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อความสำคัญของเรื่องที่เป็นข่าวไม่ได้อยู่ที่ประธานของประโยค เพื่อให้ผู้อ่านอ่านรายละเอียด
ในความนำหรือเนื้อเรื่องของข่าวต่อไป
1.3 การละเว้นคำเชื่อม คำสันธาน หรือส่วนที่ขยายประโยค นอกจากการละประธาน
ของประโยคแล้ว พาดหัวข่าวมักจะใช้ประโยคเดี่ยวมากกว่าประโยคซ้อน การใช้ภาษาจึงหลีกเลี่ยงคำเชื่อม และส่วนขยายประโยคที่ไม่จำเป็น เช่น คำว่า “อีกทั้ง” “ซึ่ง” “กับ” “ต่อ” เป็นต้น แต่ทั้งนี้ส่วนที่ละไว้ต้องไม่ทำให้ประโยคเหล่านี้มีความหมายผิดเพี้ยนไป
1.4 การใช้คำสแลง คำเฉพาะสมัย หรือคำที่สร้างภาพลักษณ์เกินจริง พาดหัวข่าวต้องดึงดูดความสนใจคนอ่านร่วมสมัย ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงเป็นคำที่อยู่ในกระแสความนิยม มีสีสัน
เกินจริง คำสแลง หรือภาษาเฉพาะสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นภาษาสนทนา หรือคำแสดงภาพพจน์ รวมทั้งสร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ เช่น วัยจ๊าบ ซึ่งหมายถึงวัยรุ่น สาวอยากอึ๋ม ซึ่งหมายถึงผู้หญิง ที่ต้องการมีหน้าอกใหญ่ขึ้น วืด หรือ ชวด ซึ่งหมายถึงพลาดเป้าหมายหรือไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวังไว้ เป็นต้น
1.5 การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสีสันให้พาดหัวข่าว
เพื่อดึงดูดความสนใจคนอ่าน ชื่อเล่นของบุคคลหรือฉายาที่ตั้งให้ใหม่นั้นมักสั้นกว่าชื่อจริง ทำให้พาดหัวข่าวกระชับและสั้นลง สามารถพิมพ์ลงในคอลัมน์ที่มีความกว้างยาวจำกัดได้ แต่ทั้งนี้
มักเป็นชื่อเรียกหรือฉายาที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน
5.การเล่าจากภาพ
เป็นการถ่ายทอดความคิดในการออกแบบจากสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิดในการออกแบบนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น